ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา นบ, เคียม, วันทา, ผคม, กรกช, คม, ชลี, สาธุ, เชีย, ทัคธ์, ไหม้
ไหว้
หมายถึงก. ทำความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.
สาธุ
หมายถึงว. ดีแล้ว, ชอบแล้ว, (เป็นคำที่พระสงฆ์เปล่งวาจาเพื่อยืนยันหรือรับรองพิธีทางศาสนาที่กระทำไป). (ปาก) ก. เปล่งวาจาแสดงความเห็นว่าชอบแล้วหรืออนุโมทนาด้วย, มักใช้เข้าคู่กับคำ โมทนา เป็น โมทนาสาธุ; ไหว้ (เป็นคำบอกให้เด็กแสดงความเคารพตามธรรมเนียม กร่อนเสียง เป็น ธุ ก็มี). (ป., ส.).
เชีย
หมายถึง(โบ) ก. ไหว้ เช่น เชียเชิงเจ้าพ่อผัวแม่แง่. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
กรกช
หมายถึง[กอระกด] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
คม
หมายถึงก. ก้ม, คำนับ, ไหว้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงคมในความหมายว่า ทรงไหว้. (กร่อนมาจาก บังคม). (ข.).
ชลี
หมายถึง(กลอน) ก. อัญชลี, ไหว้, เช่น ชลีกรงอนงามกิริยา. (อิเหนา). (ตัดมาจาก อัญชลี).
นบ
หมายถึง(กลอน) ก. ไหว้, นอบน้อม.
เคียม
หมายถึง(กลอน) ก. ไหว้, คำนับ, เช่น เคียมคัล, เคี่ยม ก็ว่า; เรียบร้อย, ตรง, เช่น เคียมค่อยมาดลสำนัก จอมจักรนักไทธรรม. (ม. คำหลวง สักบรรพ). (ถิ่น-อีสาน เขี่ยม ว่า ตรง, เรียบร้อย).
วันทา
หมายถึงก. ไหว้, แสดงอาการเคารพ. (ป. วนฺท).
ผคม
หมายถึง[ผะคม] ก. ไหว้, แผลงเป็น บังคม ก็ได้. (ข. บงฺคํ).
วันทนาการ
หมายถึงน. การไหว้. (ป.).
หน้าไหว้หลังหลอก
หมายถึง(สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.