ค้นเจอ 7 รายการ

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

คำไวพจน์

หมายถึงดู ไวพจน์

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

กัญ

หมายถึง(แบบ) น. กันย์, ชื่อราศีหนึ่งใน ๑๒ ราศี เช่น อีกกัญเป็นชื่อราศี. (ไวพจน์ประพันธ์). (ป. กญฺา).

กฤดีกา,กฤตยฎีกา

หมายถึง[กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ