ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กล่ำ
ไพ
หมายถึง(โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒ อัฐ เท่ากับ ๑ ไพ.
ไยไพ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ใยไพ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ไพฑูรย์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ไพทูรย์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กล่ำ
หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).
ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ
หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.
เภทภัย
หมายถึง[เพดไพ] น. ภัยต่าง ๆ.
มรณภัย
หมายถึง[มะระนะไพ, มอระนะไพ] น. ความรู้สึกกลัวต่อความตาย, ภัยที่เป็นอันตรายถึงตาย. (ป.).
นิรภัย
หมายถึง[-ระไพ] ว. ไม่มีภัย, แคล้วคลาดจากภัยอันตราย. (ส.).
ไพรำ
หมายถึงน. มณีอันมีค่า. (ทมิฬ ไพลำ ว่า เพชร).
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
หมายถึง(สำ) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
ไพศาขบุรณมี
หมายถึง[ไพสาขะบุระนะมี] น. วันเพ็ญเดือน ๖. (ส.; ป. วิสาขปุณฺณมี).
ไพศาข,ไพศาข-,ไพศาขะ
หมายถึง[ไพสาขะ] น. เดือน ๖; ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๑๖ ของดาวฤกษ์ ๒๗. (ป. วิสาข; ส. ไวศาข).