ค้นเจอ 78 รายการ

ศักราช

หมายถึง[สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.

สงฆ์

หมายถึงน. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).

เมือ,เมื้อ

หมายถึงก. ไป, กลับ.

ยัก

หมายถึงก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทำให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้างไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุกยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.

ละเลาะ

หมายถึงก. ค่อย ๆ ไป.

ใบปลิว

หมายถึงน. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้น เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไป.

ประสม

หมายถึงก. รวมกันเข้า (เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป).

มด

หมายถึงน. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคำประกอบกับคำ หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.

มนุษย์มนา

หมายถึง(ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่น แต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).

ม้าลาย

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดำขาวพาดขวางลำตัวตัดกันสะดุดตาเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป.

กระดิบ,กระดิบ ๆ

หมายถึงก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายนํ้ากระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.

กรุ่ม

หมายถึง[กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดา เวลากรุ่มกำลังที่ตั้งขึ้นตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ