ค้นเจอ 12 รายการ

โทน

หมายถึงน. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสำหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียวคล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. ว. มีจำเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.

โทน

หมายถึงน. ชื่อนกยางชนิดหนึ่ง เรียกว่า ยางโทน. (ดู ยาง ๑).

ลูกโทน

หมายถึงน. ลูกคนเดียวของพ่อแม่; ลูกตัวเดียวของสัตว์ชนิดที่ตามปรกติมีครั้งละหลายตัว เช่น สุนัขตัวนี้ออกลูกโทน.

ควายโทน

หมายถึงน. ควายป่าที่แตกฝูงออกมาอยู่ตามลำพัง.

อันโทล

หมายถึง[-โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หากเที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คำหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).

เบญจดุริยางค์

หมายถึงน. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขนชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทำจังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).

ทับ

หมายถึง(โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.

เครื่องห้า

หมายถึงน. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สำหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สำหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.

โคเพลาะ

หมายถึง[-เพฺลาะ] น. วัวโทนเที่ยวไปโดดเดี่ยว.

รำวง

หมายถึงน. การรำโดยมีผู้เล่นจับคู่รำตามกันไปเป็นวง, แต่เดิมใช้โทนและร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ เรียกว่า รำโทน ต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรีประกอบด้วย.

ยาง

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยางควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว ๒-๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.

เครื่องคู่

หมายถึงน. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้าคู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ