ค้นเจอ 14 รายการ

แส้

หมายถึงน. ชื่ออุปกรณ์สำหรับปัดยุงหรือแมลง ทำด้วยขนหางม้า หรือทางจากที่ทุบปลายข้างหนึ่งเป็นเส้น เป็นต้น ลักษณะเป็นพู่ยาว มีด้าม; ชื่ออุปกรณ์สำหรับตีม้า ทำด้วยหวายหรือหนังสัตว์ถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว เรียกว่า แส้ม้า, ไม้หรือเหล็กกลมยาวสำหรับกระทุ้งดินในลำกล้องปืนให้แน่น เรียกว่า แส้ปืน; ใช้ประกอบกับคำ สาว เป็น สาวแส้ หมายความว่า หญิงสาว.

เป็นสาวเป็นแส้

หมายถึงว. เป็นสาววัยรุ่น เช่น เป็นสาวเป็นแส้แล้วไม่ควรเล่นซุกซนเหมือนเด็ก ๆ.

แส้จามรี

หมายถึงน. แส้ที่ทำด้วยขนหางจามรี เป็น ๑ ในเครื่องเบญจกกุธภัณฑ์.

ไม้เรียว

หมายถึงน. ไม้ปลายเรียวเล็กคล้ายไม้แส้สำหรับตีเด็ก.

จามร

หมายถึง[-มอน] น. แส้ขนจามรี ด้ามยาว ปรกติสอดอยู่ในฝักแบนรูปคล้ายน้ำเต้า จัดเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง.

เสแสร้ง

หมายถึง[-แส้ง] ก. แกล้งทำให้เข้าใจเป็นอื่น, แกล้งทำไม่ตรงกับใจ, เช่น เขาเสแสร้งทำดีด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบคนคนนั้น.

วาลวีชนี

หมายถึง[วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).

กกุธภัณฑ์

หมายถึง[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).

จามรี

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์จำพวกวัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะบริเวณสวาบจะมีสีดำห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทำด้วยขนหางจามรีว่า แส้จามรี.

ตวัด

หมายถึง[ตะหฺวัด] ก. วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดผ้าที่ห้อยอยู่ขึ้นบ่า ตวัดชายกระเบน, โอบรัดเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดคอ, แกว่งไม้หรือเชือกให้ปลายม้วนเข้ามา เช่น ตวัดแส้.

เฟ็ด

หมายถึงว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง); เล็ด เช่น พระพรุณรายเรื่อฟ้า เฟ็ดโพยม. (ทวาทศมาส), ลวงแส้งเฟ็ดไพ่อ้อม เอาชัย. (ยวนพ่าย).

แสร้ง

หมายถึง[แส้ง] ก. แกล้ง, จงใจทำให้ผิดจากความจริง, จงใจทำ, เช่น รังไรโรยด้วยแป้ง เหมือนนกแสร้งทำรังรวง. (กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ