ค้นเจอ 39 รายการ

แบบแผน

หมายถึงน. ขนบธรรมเนียมที่กำหนดใช้หรือที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา.

อาจาร,อาจาร-

หมายถึง[-จาน, -จาระ-] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).

เนติ

หมายถึง[เน-ติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

กระบวน

หมายถึงน. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทำกระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งำ; ลำดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.

นิติ

หมายถึง[นิ-ติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

นีติ

หมายถึง(แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส.).

ตันติ

หมายถึง(แบบ) น. แบบแผน; เชือก, เส้นด้าย, สายเชือก. (ป., ส.).

รีต

หมายถึงน. เยี่ยงอย่าง, แบบแผน, ประเพณี, เช่น นอกรีต. (เทียบ ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).

ธรรมเนียม

หมายถึง[ทำ-] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.

ปเวณี

หมายถึง[ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากันตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).

ภาษาแบบแผน

หมายถึงน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.

เข้ารูปเข้ารอย

หมายถึงก. ถูกกับแบบแผน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ