ค้นเจอ 243 รายการ

คลอง

หมายถึง[คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.

ลู่

หมายถึงน. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬาหมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.

วิถี

หมายถึงน. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วิถีทาง วิถีชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).

การ์ตูน

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาด พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.

ตาม

หมายถึงก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลำดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์; เรียกตัวมา เช่น ไปตามนาย ก มา, เชิญมา เช่น ไปตามหมอ; เที่ยวค้นหาสิ่งที่หายไป เช่น ตามเรื่อง ตามวัว; จุดให้ไฟติดไว้ เช่น ตามไฟ ตามตะเกียง ตามประทีป. ว. อาการที่เลียนแบบหรือเอาอย่าง เช่น ทำตาม คล้อยตาม; ควรแก่, เหมาะแก่, เช่น ตามกำลังความสามารถ; เหมือน, อย่าง, ดัง, เช่น ตามเคย ตามปรกติ ตามธรรมดา; แล้วแต่, สุดแต่, เช่น ตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม; ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่กระแสนํ้าหรือกระแสลม) ในคำว่า ตามนํ้า ตามลม; ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทำตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. บ. แถว, แนว, ถิ่น, ที่, เช่น มีอยู่ตามป่า ปิดไว้ตามกำแพง; โดย เช่น ตามที่ปรากฏว่า.

ทิศทาง

หมายถึงน. แนว, ทางที่มุ่งไป.

นัย

หมายถึง[ไน, ไนยะ] น. ข้อสำคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย).

ขนัด

หมายถึง[ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคำว่า แน่นขนัด.

โดม

หมายถึงน. แนว, แถว, สายนํ้า. (ข. ฎง).

แนว

หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทางยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.

พวน

หมายถึงน. เชือกเกลียวขนาดใหญ่สำหรับใช้โยงเรือ เป็นต้น; แนว.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ