ค้นเจอ 236 รายการ

ปริพนธ์

หมายถึง[ปะริ-] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).

ภูษิต

หมายถึงก. ประดับ, แต่ง. (ส.; ป. ภูสิต).

บริพนธ์

หมายถึง[บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).

ปรัด

หมายถึง[ปะหฺรัด] (กลอน) ก. แต่ง.

รจเรข,รจเลข

หมายถึง[รดจะเรก, รดจะเลก] น. การขีดเขียน. ว. งาม. ก. แต่ง.

เลบง

หมายถึง[ละเบง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข. เลฺบง ว่า การเล่น).

กระบูร

หมายถึง[-บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).

จำนอง

หมายถึงก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง. (แผลงมาจาก จอง).

เรียบเรียง

หมายถึงก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่งถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบเรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.

ลบอง

หมายถึง[ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทำ. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).

ประพนธ์

หมายถึงน. คำร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).

เทียบ

หมายถึงก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมาเทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสำรับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยาก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคำว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัดเป็นชุด เช่น ยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ