ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สุกข์, แล้ง, แจรง, แจง,แจง,แจ่ง, เรียน, จัก, แจบ, รู้, วิ, สว่าง, แสก ๆ
รู้
หมายถึงก. แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ.
ภาส,ภาส-
หมายถึง[พาด, พาดสะ-, พาสะ-] น. แสง, สว่าง, แจ้ง. (ป., ส.).
กล่าว
หมายถึง[กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
กังก้า
หมายถึงว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
ตรัส
หมายถึง(ราชา) ก. พูด. ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน.
แจ้ง
หมายถึงก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.
เรียน
หมายถึงก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิดความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วยตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามีคนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดาเขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
จัก
หมายถึงก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จำได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถพาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
แจบ
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.
วิ
หมายถึงคำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).
สว่าง
หมายถึง[สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคำว่า ตาสว่าง.
แสก ๆ
หมายถึงว. แจ้ง ๆ เช่น กลางวันแสก ๆ.