ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทีฆสระ, รัสสระ, เอ, เอ,เอ,เอ๊, สะเอว, เอ้, เอง, เอน, เออ ๆ คะ ๆ, บั้นเอว, ดอกสร้อย, ทุ
เอกฉันท์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
เอกฉัน, เอกะฉันท์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
เอกเขนก เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
เอกขเนก เป็นคำที่เขียนผิด ❌
เอ็นดอร์ฟิน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
เอ็นโดรฟิน เป็นคำที่เขียนผิด ❌
เอ
หมายถึงว. หนึ่ง; เปลี่ยว, เดี่ยว, เช่น เอองค์. (ตัดมาจาก เอก).
เอ้
หมายถึงว. สำคัญ, หัวโจก, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น เขาเป็นตัวเอ้ในการชวนเพื่อนหนีโรงเรียน.
เอกจิต
หมายถึง[เอกะ-] น. ความคิดจำเพาะถึงสิ่งอย่างเดียว, ความคิดอันหนึ่งอันเดียว, ความคิดต้องกัน, ความเห็นพ้องกัน. (ป., ส. เอกจิตฺต).
เอกเทศ
หมายถึง[เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.
เอกภักดิ์
หมายถึง[เอกกะ-] ว. จงรักต่อคนคนเดียว, ซื่อตรง.
เอกภาคี
หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.
เอกภาพ
หมายถึง[เอกกะ-] น. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; ความสอดคล้องกลมกลืนกัน. (อ. unity).
เอกรรถประโยค
หมายถึง[เอกัดถะ-] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว.
เอกรส
หมายถึง[เอกกะ-] น. รสอันเอก ได้แก่ วิมุตติรส คือ รสที่เกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลส. (ป.).