ค้นเจอ 11 รายการ

เห็นใจ

หมายถึงก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ยากของผู้อื่น เช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

หมายถึง(สำ) ก. ให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น.

โถ

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น.

อ้อยส้อย

หมายถึงว. ทำอาการเศร้าสร้อยอ้อยอิ่งเพื่อให้เขาเห็นใจ.

หัวอก

หมายถึงน. ส่วนเบื้องบนของอกในระดับหัวใจ; (ปาก) สภาพที่น่าเห็นใจ เช่น หัวอกแม่ค้า หัวอกคนจน.

เรียกร้อง

หมายถึงก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้องขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.

หัวอกหัวใจ

หมายถึงน. สภาพจิตใจที่น่าสงสารหรือน่าเห็นใจเป็นต้น เช่น นั่งก็ไม่เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข หัวอกหัวใจมันร้อนรุ่มไปหมด.

ตีลูกซึม

หมายถึงก. ทำเฉย ๆ เหมือนไม่รู้เรื่อง, แสร้งทำหน้าซึมเศร้าเพื่อให้สงสารหรือเห็นอกเห็นใจ.

ละห้อย

หมายถึงว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย.

สงสาร

หมายถึง[สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ