ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ยักยี่ยักเหยา, ย้ำเหยอ, เหยา, เหยง,เหยง ๆ, ยิ้มเหย, เหย
เหย่อย
หมายถึง[เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสดและรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาลเช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
เหยาะ
หมายถึงก. หยอดหรือหยดลงแต่น้อยตามต้องการ.
เหยียบ
หมายถึง[เหฺยียบ] ก. วางเท้ากดลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ปกปิด เช่น พูดแล้วเหยียบเสีย. ว. เกือบ เช่น เหยียบร้อย.
เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
หมายถึง(สำ) ว. หยิบหย่ง, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน.
เหยียบจมูก
หมายถึงก. บังอาจลบเหลี่ยม.
เหยียบย่าง
หมายถึงก. เข้าไปสู่, เดินเข้าไป, ย่างเข้าสู่, ย่างเหยียบ ก็ว่า.
เหย้า
หมายถึง[เย่า] น. เรือน, บ้านเรือน, ครอบครัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เรือน เป็น เหย้าเรือน, เขียนเป็น หย้าว ก็มี.
เหยาะแหยะ
หมายถึง[-แหฺยะ] ว. ย่อหย่อน, ทำเป็นเล่น, ไม่เอาจริงเอาจัง, เช่น ทำงานเหยาะแหยะ.
เหยียดหยาม
หมายถึงก. ดูหมิ่น.
เหยี่ยวข่าว
หมายถึง(ปาก) น. นักข่าว, คนที่หาข่าวได้รวดเร็วเป็นพิเศษ.
เหยง,เหยง ๆ
หมายถึง[เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี.
เหย่า,เหย่า ๆ
หมายถึง[เหฺย่า] ว. อาการที่วิ่งอย่างช้า ๆ หรือเดินอย่างเร็ว.