ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สละ, พลี, บริจาค, สระ, แซ่บ, เสียงสระ, เสียพรหมจารี, เสียสาว, เสียสติ, บ้า
เสียสละ
หมายถึงก. ให้โดยยินยอม, ให้ด้วยความเต็มใจ, เช่น ทหารเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ พ่อแม่เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างได้เพื่อลูก.
สละ
หมายถึง[สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
พลี
หมายถึง[พฺลี] ก. เสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ, บวงสรวงเชิญเอามา (ใช้แก่ยาสมุนไพร) เช่น ไปพลียาที่ต้นเทียน คือ ไปบวงสรวงเก็บต้นเทียนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเทียนมาทำยารักษาโรค.
บริจาค
หมายถึง[บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความเสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
จาคี
หมายถึง(แบบ) น. ผู้มีการเสียสละ, ผู้นิยมทำทาน. (ป.; ส. ตฺยาคินฺ).
ทุ่มเท
หมายถึงก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกำลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกำลังความคิด.
ขายผ้าเอาหน้ารอด
หมายถึง(สำ) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้.
ศีลมหาสนิท
หมายถึงน. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์.
ทศพิธราชธรรม
หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
ราชธรรม
หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).