ค้นเจอ 13 รายการ

เสียงสระ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.

สระ

หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).

แซ่บ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

แซบ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

รูปสระ

หมายถึงน. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.

สัมผัสสระ

หมายถึงน. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น . (เพลงยาวถวายโอวาท), . (นิ. วัดสิงห์).

เสียงพยัญชนะ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, พยัญชนะ ก็เรียก.

หันอากาศ

หมายถึงน. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ั ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.

หางกังหัน

หมายถึงน. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ั ว่า หางกังหัน ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.

โฆษะ

หมายถึงว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).

สัทอักษร

หมายถึง[สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).

อโฆษะ

หมายถึงว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ