ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สุ,สุ,สุ ๆ, เสื่อม, ประตู, คำกร่อน, เกรียว, เกรียวกราว, จอน, บริจาริกา
เสียหาย
หมายถึงก. เสื่อมเสีย เช่น เขาประพฤติตัวไม่ดี ทำให้วงศ์ตระกูลพลอยเสียหายไปด้วย; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนตกหนัก น้ำท่วมไร่นาเสียหายหมด, เสีย ก็ว่า.
สุ,สุ,สุ ๆ
หมายถึงว. เสีย แต่ยังไม่เน่า (มักใช้แก่แตงโม) เช่น แตงโมใบนี้สุแล้ว แตงโมสุ ๆ.
เสีย
หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.
เสื่อม
หมายถึงก. น้อยลง, หย่อนลง, เช่น เครื่องจักรเมื่อใช้ไปนาน ๆ คุณภาพก็ค่อย ๆ เสื่อมไป, เสีย เช่น เสื่อมเกียรติ, ค่อย ๆ ลดลง เช่น ความจำเสื่อม, ต่ำกว่าระดับเดิม เช่น เมื่อความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น คุณธรรมของคนก็เสื่อมลง, ถอยความขลัง เช่น มนตร์เสื่อม.
ประตู
หมายถึงน. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจำนวนครั้งที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียกช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู.
คำกร่อน
หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
เสียแต่,เสียที่
หมายถึงสัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.
เสียได้
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.
ไม่ได้ไม่เสีย
หมายถึงว. เสมอตัว, เท่าทุน.
เสียแล้ว
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.
เป็นเสียเอง
หมายถึงก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.