ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เนือง,เนือง ๆ, อาจิณ, คู่, เชื่อวัน, นิภา, เป็นนิตย์, อภิณห,อภิณห-, วันยังค่ำ
เสมอ
หมายถึง[สะเหฺมอ] ก. เข้าข้าง, คาดว่าจะชนะ, เช่น มวยคู่นี้คุณจะเสมอฝ่ายไหน.
ทัด,ทัด,ทัดเทียม
หมายถึงว. เท่าเทียม, เสมอ, เช่น ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกัน. (พงศ. เลขา).
เนือง,เนือง ๆ
หมายถึงว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่อยู่เนือง ๆ.
อาจิณ
หมายถึง[-จิน] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
คู่
หมายถึงน. จำนวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สำหรับกันหรือใช้กำกับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะเป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยายหมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
เชื่อวัน
หมายถึงว. คำใช้เข้าคู่กับคำ ทุกเมื่อ เป็น ทุกเมื่อเชื่อวัน หมายความว่า ทุกขณะ, ทุกวัน, เสมอ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
นิภา
หมายถึงน. แสง, แสงสว่าง. (ป., ส.). (แบบ) ก. เทียม, เสมอ, เทียบ. (ป., ส. นิภ).
เสมอ ๆ
หมายถึง[สะเหฺมอสะเหฺมอ] ว. เรียบราบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, เช่น ปรับพื้นให้เสมอ ๆ กัน; ตลอดไป, บ่อยและเป็นประจำ, เช่น เขามาหาเสมอ ๆ.
เป็นนิตย์
หมายถึงว. เสมอ ๆ, เนือง ๆ.
หมายถึง[สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.
หมายถึง[สะเหฺมอ] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียกว่า เพลงเสมอ เช่น เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เสมอนาง เสมอมาร.
อภิณห,อภิณห-
หมายถึง[อะพินหะ-] ว. เสมอ, ทุกวัน. (ป.).