ค้นเจอ 17 รายการ

เสภา

หมายถึงน. ชื่อกลอนชนิดหนึ่ง นิยมแต่งเล่าเรื่องค่อนข้างยาว ใช้ขับ เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน, เวลาขับมีกรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ต่อมาใช้ปี่พาทย์รับ.

ลำนำ

หมายถึงน. บทกลอนที่ใช้ขับร้อง ได้แก่ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย.

กรับเสภา

หมายถึงน. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.

กลอน

หมายถึง[กฺลอน] น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.

เสภารำ

หมายถึงน. เสภาทรงเครื่องที่มีตัวละครออกมารำประกอบการขับ.

เสภาทรงเครื่อง

หมายถึงน. เสภาที่ใช้ปี่พาทย์บรรเลงรับเวลาร้องส่ง บางทีมีเพลงหน้าพาทย์ประกอบ, เสภาส่งเครื่อง ก็ว่า.

กรับขยับ

หมายถึงน. กรับเสภา.

มุทิกา

หมายถึงน. คนขับเสภา. (ป.).

ขับ

หมายถึงก. ร้องเป็นทำนอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา.

กระต่ายชมจันทร์

หมายถึงน. ท่ารำละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.

ส่งลำ

หมายถึงก. ร้องเพลงส่งให้ปี่พาทย์รับบรรเลงตามทำนองที่ร้อง (ใช้แก่การขับเสภาและสักวา); กระทำครั้งสุดท้าย เช่น เตะส่งลำ.

กระแต

หมายถึงน. ชื่อเพลงร้อง เดิมเป็นของไทยทางเหนือเรียกว่า กระแตเล็ก, ถ้าทำโหมโรงสำหรับเสภา เรียกว่า กระแตใหญ่.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ