ค้นเจอ 13 รายการ

เสนาะ

หมายถึง[สะเหฺนาะ] ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู; (กลอน) วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว. (นิ. นรินทร์). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

เสนาะ

หมายถึง[สะเหฺนาะ] น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น บ้างสวมใส่เสนาะเกราะพราย. (ขุนช้างขุนแผน).

ม่วน

หมายถึงว. ไพเราะ, เสนาะ, สนุก.

วัคคุ

หมายถึงว. ไพเราะ, เสนาะ; งาม. (ป.; ส. วลฺคุ).

สรเหนาะ,สระเหนาะ

หมายถึง[สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

ไพเราะ

หมายถึงว. เพราะ, เสนาะ, น่าฟัง. (แผลงมาจาก พิเราะ).

พิเราะ

หมายถึงว. ไพเราะ, เพราะ, เสนาะ. (ข. พีเราะ).

เพราะ

หมายถึงว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.

ละเวง

หมายถึงว. เสียงเสนาะ, ก้อง, กังวาน; ฟุ้งเฟื่อง, ฟุ้งไป.

ครัน

หมายถึง[คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคำอื่นมีความหมายไปในทำนองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.

ฉับฉ่ำ

หมายถึง(กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).

งูกลืนหาง,งูกินหาง,งูกินหาง

หมายถึงน. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ