ค้นเจอ 82 รายการ

เลว

หมายถึงว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคำ รบ เป็น รบเลว.

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

สวะ,สวะ,สวะ ๆ

หมายถึง[สะหฺวะ] (ปาก) ว. เลว, ไร้ประโยชน์, เช่น คนสวะ เรื่องสวะ ๆ; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ของสวะ ๆ.

หืน

หมายถึง(กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน ๔, หิน-).

อสาธุ

หมายถึงว. ไม่ดี, ไม่งาม, เลว, ชั่วช้า; น่าละอาย; แผลงใช้ว่า อสาธร ก็ได้. (ป., ส.).

กริกกริว

หมายถึง[กฺริกกฺริว] ว. ขี้ริ้ว, เลว, เช่น โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้ากริกกริว. (ลอ).

สะเก็ด

หมายถึงน. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.

นยักษ์

หมายถึง[นะยัก] (แบบ) ว. ตํ่าต้อย, เลว. (ส.).

ชั่ว

หมายถึงว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.

หิน,หิน,หิน-

หมายถึง[หิน, หินนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า, ใช้ว่า หืน ก็มี เช่น โหดหืน. (ป., ส. หีน).

โสโครก

หมายถึง[โสโคฺรก] ว. สกปรก, เปื้อนเปรอะน่ารังเกียจ, โดยปริยายหมายความว่า เลว เช่น คนโสโครก ของโสโครก เรื่องโสโครก. น. เรียกแนวพืดหินหรือโขดหินใต้นํ้าใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมีบางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ ว่า หินโสโครก.

สาธารณ์

หมายถึง[สาทาน] ว. ตํ่า, เลว; ชั่วช้า, เช่น ดังกากาจชาติช้าสาธารณ์ จะประมาณหมายหงส์พงศ์พระยา. (อิเหนา), บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสาธารณ์; ทั่ว ๆ ไป เช่น ของสาธารณ์. (ป., ส. ว่า ทั่วไป, สามัญ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ