ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา แซง, เรือกราบ, เรือประกอบ, เรือแซ, โยง, เรือแฝด, เรือโยง, เรือส่ง, การ์ตูน, โถง, เรืองแสง
เรือแซง
หมายถึงน. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน.
แซง
หมายถึงน. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือกองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก, เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง เช่น พูดแซง.
หมายถึงน. ต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นปรือ. (พจน. ๒๔๙๓).
เรือกราบ
หมายถึงน. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้.
แทรกแซง เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
แซกแซง เป็นคำที่เขียนผิด ❌
แชรง
หมายถึง[แชฺรง] (โบ) ก. แซง.
เรือส่ง
หมายถึงน. เรือบรรทุกสินค้านานาชนิดขึ้นล่องส่งสินค้าขายเรื่อยไปตามแม่น้ำลำคลอง.
เรือกัน
หมายถึงน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือต่อ
หมายถึงน. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.
เรือ
หมายถึงน. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทำด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนำกระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตาตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัวงอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
นาวี
หมายถึงน. เรือ, กองทัพเรือ.
วิทยุเรือ
หมายถึงน. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมชายฝั่งกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือด้วยกันเอง.