ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา โยง, เรือโยง, โถง, สีกุน, หางกิ่ว, เรือแซง, เรือม่วง, ต่อ, เรือต่อ, เรือโถง, เรือพ่วง
เรือส่ง
หมายถึงน. เรือบรรทุกสินค้านานาชนิดขึ้นล่องส่งสินค้าขายเรื่อยไปตามแม่น้ำลำคลอง.
เรือกัน
หมายถึงน. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
เรือต่อ
หมายถึงน. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.
เรือ
หมายถึงน. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทำด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนำกระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตาตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัวงอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
นาวี
หมายถึงน. เรือ, กองทัพเรือ.
วิทยุเรือ
หมายถึงน. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมชายฝั่งกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือด้วยกันเอง.
เรือกุแหละ
หมายถึงน. เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
เรือโกลน
หมายถึง[-โกฺลน] น. เรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด.
เรือตรวจการณ์
หมายถึงน. เรือรบขนาดเล็ก มีความเร็วปานกลาง มีหน้าที่ตรวจดูเหตุการณ์เพื่อรักษาฝั่ง มีอาวุธต่าง ๆ ตามภารกิจของเรือแต่ละลำ เช่น เรือตรวจการณ์ (ปืน) เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือตรวจการณ์ลำน้ำ.
เรือประจัญบาน
หมายถึงน. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้งอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก.
เรือแฝด
หมายถึงน. เรือชะล่า ๒ ลำที่นำมาผูกติดกันแล้วใช้ไม้กระดานปูเพื่อบรรทุกรถยนต์ข้ามแม่น้ำ นิยมใช้ทางภาคอีสาน.
เรือพิฆาต
หมายถึงน. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้ากระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.