ค้นเจอ 222 รายการ

อาคาร

หมายถึง[-คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).

คฤหาสน์

หมายถึง[คะรึหาด] น. เรือน, โดยมากหมายถึงเรือนขนาดใหญ่และสง่าผ่าเผย. (ส. คฺฤหาสน).

เคห-

หมายถึงน. เรือน, ที่อยู่. (ป., ส. เคห).

เรือน

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สำหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จำนวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนามใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่ง นาฬิกา ๒ เรือน.

โรงเรือน

หมายถึง(กฎ) น. ตึก บ้าน เรือน โรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรืออาจเข้าใช้สอยได้และหมายความรวมถึงแพด้วย.

คห,คห-

หมายถึง[คะหะ-] (แบบ) น. เรือน, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น คหกรรม. (ป.).

เฮือน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. เรือน.

นาฬิกา

หมายถึงน. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกาข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่วนาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกำหนดเวลา).

บริคณห์

หมายถึง[บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คำที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความกำหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล. (ป. ปริคฺคหณ).

สทุม

หมายถึง[สะ-] น. เรือน. (ป.; ส. สทฺมนฺ).

ผัง

หมายถึงน. ไม้สำหรับถ่างผ้าที่ทอให้ตึง ปลายทั้ง ๒ มีเข็มสำหรับเสียบที่ริมผ้า; ไม้หรือเส้นแบบสำหรับเป็นแบบขุดหลุมเสาปลูกเรือน; พื้นที่ราบ; ระดับพื้นที่; แบบที่เขียนย่อหรือขยายจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ตึก เรือน, แผนผัง ก็ว่า.

ขวัญ

หมายถึง[ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง; กำลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทำขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทำพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทำพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กำลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ