ค้นเจอ 13 รายการ

เบ่ง

หมายถึงก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะเป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทำให้พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอำนาจ, อวดทำเป็นใหญ่.

กระเบง

หมายถึง(กลอน) ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. (อนิรุทธ์); ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้.

ลมเบ่ง

หมายถึงก. อาการที่อยากเบ่งขณะที่มดลูกหดตัวและตำแหน่งของทารกอยู่ต่ำมากพร้อมที่จะคลอดออกมา.

ตะเบ็ง

หมายถึงก. เบ่งเสียงออกให้ดังเกินสมควร.

ยืดอก

หมายถึงก. เบ่งอกแสดงให้เห็นความสง่าผ่าเผยเป็นต้น.

กัมมัชวาต

หมายถึง[กำมัดชะวาด] (แบบ) น. กรรมชวาต, ลมเบ่ง. (ป.).

อูด

หมายถึงก. นูนขึ้น เช่น นํ้าอูด, นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินอูด.

อูม

หมายถึงว. โป่งพอง เช่น หน้าอูม, เบ่งนูนขึ้น เช่น บวมอูม.

ปูด

หมายถึงว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.

ตระเบ็ง

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง.

ปะทุ

หมายถึงก. แตกหรือผุดออกมาด้วยแรงเบ่งดัน เช่น ภูเขาไฟปะทุ ถ่านปะทุ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพ่งจนตาจะปะทุ.

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ