ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เยา, ปฐมบุรุษ, สรรพนาม, เยี่ยว, ลฆุ, เหวง, แผ่ว,แผ่ว ๆ, สนิกะ, รวย,รวย,รวย ๆ, หนัก, ลหุ
เยี่ยว
หมายถึงน. ของเหลวที่เสียซึ่งไตขับถ่ายออกจากโลหิต, นํ้าปัสสาวะ, (ปาก) น้ำเบา. ก. ถ่ายปัสสาวะ, (ปาก) เบา.
ลฆุ
หมายถึงว. เบา, เร็ว. (ส.; ป. ลหุ).
เหวง
หมายถึง[เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.
แผ่ว,แผ่ว ๆ
หมายถึงว. เบา ๆ เช่น เสียงแผ่ว คือเสียงเบาเกือบไม่ได้ยิน หายใจแผ่ว คือหายใจเบาจนเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ วาดแผ่ว ๆ คือวาดเบา ๆ พอให้เห็น ปัดแผ่ว ๆ คือปัดเบา ๆ พอให้หมดฝุ่นละออง.
สนิกะ
หมายถึง[สะนิกะ] (แบบ) ว. ค่อย ๆ, เบา ๆ. (ป.).
รวย,รวย,รวย ๆ
หมายถึงว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น; งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.
หนัก
หมายถึงว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
ลหุ
หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.
อ่อย,อ่อย,อ่อย ๆ
หมายถึงว. ค่อย ๆ เบา ๆ, เช่น เสียงอ่อยพูดอ่อย ๆ.
เบา
หมายถึงว. มีน้ำหนักน้อย, ตรงข้ามกับ หนัก; ย่อมเยา เช่น เบาราคา; ค่อย, ค่อย ๆ, เช่น เสียงเบา เดินเบา ๆ, ทุเลา เช่น ไข้เบาลง, ชะลอกำลังเร็วให้ช้าลง เช่น เบารถ เบาฝีจักร; ที่ให้ผลเร็ว เช่น ข้าวเบา. (ปาก) น. เยี่ยว. ก. ถ่ายปัสสาวะ, เยี่ยว.
ขนาด
หมายถึง[ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กำหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
สิถิล
หมายถึงว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มีกลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).