ค้นเจอ 215 รายการ

จตุรคูณ

หมายถึงว. ๔ เท่า.

เพี้ยง

หมายถึงว. เท่า, เสมอ, เหมือน. (ใช้ในโคลงแทน เพียง). อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

สามชั้น

หมายถึงน. เรียกเนื้อหมูส่วนท้องที่ชำแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อว่า หมูสามชั้น; จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้นเท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสามชั้น เพลงสามชั้น.

ทัน

หมายถึงว. เป็นไปตามเวลาที่กำหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กำหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).

ตรีคูณ

หมายถึงน. ๓ เท่า. (ส. ตฺริคุณ).

ทวีคูณ

หมายถึงว. ๒ เท่า. (ส. ทฺวิคุณ; ป. ทิคุณ).

แค่

หมายถึงว. เพียง, เท่า.

เพียง

หมายถึงว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคำโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.

เท่า

หมายถึงว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จำนวนที่เพิ่มขึ้นตามส่วนของจำนวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจำนวนเดิม.

เท่า

หมายถึง(โบ) น. เถ้า.

คูณ

หมายถึงก. เพิ่มจำนวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ, เท่า เช่น ทวีคูณ คือ ๒ เท่า ตรีคูณ คือ ๓ เท่า. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้x ว่า เครื่องหมายคูณ. (ป., ส. คุณ).

ท่อ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ว. เท่า, เสมอ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ