ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เบี่ยง, เสี่ยว, เอ, เซี่ยว, หา, เอี่ยม, เคียม, เฆี่ยน, เตียว, แอ่ว
เที่ยว
หมายถึงน. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
ขา
หมายถึงน. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.
หมายถึงก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความสนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
แอ่ว
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่น-พายัพ) เที่ยว, ถ้าไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
เตียว
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. เที่ยว, เดิน, เช่น ธนาก็เต้าเตียวจร. (บุณโณวาท).
โคจร,โคจร-
หมายถึง[-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คำนี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์).
ภิกขาจาร
หมายถึงน. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ป.).
จรลู่
หมายถึง[จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
ท่องเที่ยว
หมายถึงก. เที่ยวไป.
เสียเที่ยว
หมายถึงก. เดินทางไปหรือมาแล้วไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ เช่น เดินทางไปหาเพื่อนแล้วไม่พบ เสียเที่ยวเปล่า.
ซัดเซ
หมายถึงก. เที่ยวไปไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่.
ภิกษาจาร
หมายถึงน. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ส.; ป. ภิกฺขาจาร).