ค้นเจอ 13 รายการ

เกเร

หมายถึงว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาล เป็น พาลเกเร.

พาล,พาล,พาลา

หมายถึง(กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาลพาลพาไปหาผิด. (ป.).

โยเย

หมายถึงว. เกเร, เกะกะ; ร้องไห้งอแง, ขี้อ้อน, (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ). ก. พูดรวนเร.

เก

หมายถึงว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลำ) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.

เกกมะเหรก

หมายถึง[-มะเหฺรก] ว. เกเร.

โผงเผง

หมายถึงก. เอ็ดอึงเป็นทำนองเกะกะเกเร.

สาระโกก

หมายถึงว. โกงเกะกะเกเร, เป็นพาล.

โฉงเฉง

หมายถึงว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทำนองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.

เกะกะ

หมายถึงว. กีด, ขวาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น วางของเกะกะ; ประพฤติเป็นพาลเกเร เช่น คนเกะกะ.

ควายเขาเกก

หมายถึงน. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.

วัวเขาเกก

หมายถึงน. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.

ระราน

หมายถึงก. ประพฤติเป็นพาลเกเร ทำให้เดือดร้อน เช่น เขาเที่ยวระรานชาวบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เกะกะ เป็น เกะกะระราน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ