ค้นเจอ 15 รายการ

อุ้ม

หมายถึงก. โอบยกขึ้น, ยกขึ้นไว้กับตัว, เช่น อุ้มเด็ก; หอบไป, พาไป, เช่น เมฆอุ้มฝน. น. ชื่อวัยของเด็กก่อนวัยจูง เรียกว่า วัยอุ้ม.

เชิญ

หมายถึงก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทานอาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนำไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าวอนุญาตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.

วัยอุ้ม

หมายถึงน. วัยของเด็กก่อนวัยจูง.

เตี้ยอุ้มค่อม

หมายถึง(สำ) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจน แต่รับภาระเลี้ยงดูคนที่มีฐานะเช่นตนอีก.

วัยจูง

หมายถึงน. วัยของเด็กระหว่างวัยแล่นกับวัยอุ้ม.

กระเตง

หมายถึงก. อาการที่อุ้มเด็กเข้าสะเอวหรือสะพายของโตงเตงไป.

ตระหนี่ตัว

หมายถึงก. หวงตัว ไม่ยอมให้ใครอุ้ม (ใช้แก่เด็ก).

อุ้มสม

หมายถึงก. อุ้มไปให้สมสู่กัน (ในวรรณคดีใช้แก่การที่เทวดาอุ้มพระเอกไปให้สมสู่กับนางเอกที่ตนเห็นว่าคู่ควรกัน), (สำ) เปรียบเทียบคู่ผัวเมียที่เหมาะสมกันว่า ราวกับเทวดาอุ้มสม.

ลูกเต้าเล้าอ่อน

หมายถึงน. ลูกเล็ก ๆ หลายคน เช่น เธอมีลูกเต้าเล้าอ่อน ไปไหนทีก็ต้องอุ้มบ้างจูงบ้าง.

กระจองอแง

หมายถึงว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรำคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็กแดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง.

จูง

หมายถึงก. พาไปด้วยอาการคล้ายดึงหรือฉุด เช่น จูงควาย จูงเด็ก. น. ชื่อวัยของเด็กระหว่างวัยอุ้มกับวัยแล่น เรียกว่า วัยจูง.

หวงตัว

หมายถึงก. รักนวลสงวนตัว เช่น เป็นลูกผู้หญิงต้องรู้จักหวงตัว, ไม่ยอมให้ถูกเนื้อต้องตัว เช่น เด็กคนนี้หวงตัว ไม่ยอมให้คนแปลกหน้าอุ้ม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ