ค้นเจอ 16 รายการ

อึง

หมายถึงก. ดัง, เอ็ด, อึกทึก, แพร่งพราย.

แจจน,แจจัน

หมายถึงว. เบียดเสียดกัน, ยัดเยียดกัน, แน่นกัน, อัดแอ, มากนัก; อึกทึก, อึง.

ประอึง

หมายถึง(กลอน) ก. อึง, ดัง, เอ็ด, อึกทึก. (บุณโณวาท).

เอิก

หมายถึงว. อึง, อื้อฉาว.

กระอึก

หมายถึง(กลอน) ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง. (กลบท ๒; ม. คำหลวง จุลพน).

กระฉ่อน

หมายถึงว. อื้อฉาว, แพร่สนั่นไป, อึงไปทั่ว.

โจษจน,โจษแจ

หมายถึง(กลอน) ก. พูดอึง, เล่าลือกันอื้ออึง.

จันโจษ

หมายถึงก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี.

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] (โบ) ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น. (ม. คำหลวง กุมาร).

กระเอิก

หมายถึง(กลอน) ว. เอิกเกริก เช่น พลเกรอกกระเออกอึง. (สรรพสิทธิ์).

โจษจัน

หมายถึง[โจดจัน] ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้.

โจษ

หมายถึง[โจด] ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษ หรือ จันโจษ ก็ใช้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ