ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อิศร, อิศวร, อดิศร,อดิศวร, พิฆเนศ,พิฆเนศวร, อิสร, กษิดิ,กษีดิ, วิฆเนศ,วิฆเนศวร, ผณินทร,ผณิศวร, อิสระ
อีศวร
หมายถึง[-สวน] น. อิศวร. (ส.).
พิฆเนศ,พิฆเนศวร
หมายถึง[พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
อิศร
หมายถึง[อิด] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นริศร มหิศร, หรือแผลงเป็น เอศร เช่น นฤเบศร. ว. เป็นใหญ่, เป็นใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัวไม่ขึ้นแก่ใคร. (จาก ส. อีศฺวร ซึ่งมักใช้ อิศวร).
อิศวร
หมายถึง[อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
อิสร
หมายถึง[อิดสะหฺระ-] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครองตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็นอิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
กษิดิ,กษีดิ
หมายถึง[กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
นเรนทรสูร,นเรศ,นเรศวร,นเรศูร
หมายถึง[นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
วิฆเนศ,วิฆเนศวร
หมายถึง[วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่าถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
ผณินทร,ผณิศวร
หมายถึงน. พญางู คือ นาคราช. (ส. ผณินฺ + อินฺทฺร; ส. ผณินฺ + อีศฺวร).
อิสระ
นรินทร์,นริศ,นริศร,นริศวร
หมายถึง[นะริน, นะริด, นะริดสวน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร, นร + อีศ, นร + อีศฺร, นร + อีศฺวร).
อดิศร,อดิศวร
หมายถึง[อะดิสอน, -สวน] น. ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่. (ส. อติ + อีศฺร, อติ + อีศฺวร).