ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา อา, อาวรณ์, อาว

อาวรณ์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

อาวร เป็นคำที่เขียนผิด ❌

อาว

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. อาผู้ชาย, น้องชายของพ่อ.

อาวาห,อาวาห-,อาวาหะ

หมายถึง[อาวาหะ-] น. “การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนำหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).

อาวแดง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเจียว. (ดู กระเจียว).

อาวรณ์

หมายถึง[-วอน] ก. ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์. น. เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง. (ป., ส.).

อาวาส

หมายถึง[-วาด] น. วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์; ผู้ครอบครอง เช่น ฆราวาส (ฆร + อาวาส) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน. (ป., ส.).

อาวุธ

หมายถึง[-วุด] น. เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ. (ป. อาวุธ, อายุธ; ส. อายุธ).

อาวัล

หมายถึง[-วัน] (กฎ) น. การรับประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน. (ฝ. aval).

อาวาสิก

หมายถึงน. ผู้ครอบครองอาวาส คือ พระสงฆ์. (ป.).

อาวุโส

หมายถึงว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคำ อาลปนะ คือ คำที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคำที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).

อาวัชนาการ

หมายถึง[-วัดชะ-] น. ความรำพึง; การรำลึก. (ป. อาวชฺชน + อาการ).

อาวุต

หมายถึง[-วุด] ว. ต้องห้าม, กั้นหรือขวางไว้. (ป.; ส. อาวฺฤต).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ