ค้นเจอ 12 รายการ

อัตคัด เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

อัตคัต เป็นคำที่เขียนผิด ❌

อัตคัด

หมายถึง[อัดตะ-] ว. ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด. ก. มีน้อย, ขาดแคลน, เช่น อัตคัดผม อัตคัดน้ำ.

ขัดสน

หมายถึงว. ฝืดเคือง, อัตคัด, ขาดแคลน; ลำบาก.

ข้นแค้น

หมายถึงก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น.

กันดาร

หมายถึง[-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลำบาก, แห้งแล้ง, คำนี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลำบาก. (ป. กนฺตาร).

ขาดแคลน

หมายถึงก. ขัดสน, อัตคัด.

แคลน

หมายถึง[แคฺลน] ว. ขัดสน, อัตคัด, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น ขาดแคลน = ทั้งขาดทั้งแคลน หมายความว่า อัตคัด, ขัดสน ดูแคลน = ดูหมิ่นเพราะเห็นเขาขัดสน ดูหมิ่นถิ่นแคลน = ดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย.

ยากแค้น

หมายถึงว. อัตคัดขัดสน.

ทุรภิกษ์

หมายถึงน. การอัตคัดเสบียง. (ส.).

ปอน ๆ

หมายถึงว. ซอมซ่อ, มีลักษณะประหนึ่งว่าอัตคัด ขัดสน เช่น แต่งตัวปอน; เรียกของเลว ๆ ว่า ของปอน ๆ.

ปอน

หมายถึงว. ซอมซ่อ, มีลักษณะประหนึ่งว่าอัตคัด ขัดสน เช่น แต่งตัวปอน; เรียกของเลว ๆ ว่า ของปอน ๆ.

จน

หมายถึงว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทำได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ