ค้นเจอ 15 รายการ

อังแพลม

หมายถึง[-แพฺลม] น. ตะเกียงหิ้วขนาดเล็ก มีที่กำบังแสงและลม ๓ ด้าน สำหรับส่องหาของหรือตีกบเป็นต้นในเวลากลางคืน.

แพลม

หมายถึง[แพฺลม] ก. แลบออกมาพอแลเห็น เช่น ทุเรียนเนื้อบางเห็นเม็ดแพลมออกมา.

อัง

หมายถึงก. นำไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออังหน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.

อังส,อังส-,อังสะ

หมายถึง[อังสะ-] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).

อังกุระ,อังกูร

หมายถึง[-กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).

อังคุตรนิกาย

หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.

ตาหนู

หมายถึงลักษณะของสิ่งของที่อยู่ภายในแพลมออกมาข้างนอกแต่เล็กน้อย.

ขาง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อัง, ทำให้ร้อน, ทำให้สุก, เช่น เอาขี้ผึ้งไปขางไฟ ว่า เอาขี้ผึ้งไปอังไฟ.

จ๋ง

หมายถึง(โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. (กฎ. ๒).

นึ่งหม้อเกลือ

หมายถึงก. ใช้หม้อตาลใส่เกลืออังไฟให้ร้อน ห่อด้วยใบพลับพลึงแล้วใช้ผ้าหุ้มอีกชั้นหนึ่ง นาบหรือประคบท้องหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ.

ลูกประคบ

หมายถึงน. ผ้าห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ ใช้อังไฟนาบหรือกดคลึงตามร่างกายตรงบริเวณที่ปวดหรือโนเป็นต้น.

ประคบ

หมายถึงว. เรียกผ้าที่ห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ อังไฟแล้วนาบหรือคลึงบริเวณที่ปวดว่า ลูกประคบ. ก. นาบหรือกดคลึงด้วยลูกประคบ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ