ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อ, สีจัก, อัฐบาน, อุปกิเลส, ธุร,ธุร-,ธุระ, นพรัตน์, นววิธ, แบตเตอรี่, ประการ
สีจัก
หมายถึงน. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสำหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, ฝีจัก ก็ว่า.
อย่าง
หมายถึง[หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนามบอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงานหลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคำวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
อัฐบาน
หมายถึงน. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.
อุปกิเลส
หมายถึง[อุปะกิเหฺลด] น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. (ป. อุปกฺกิเลส).
ธุร,ธุร-,ธุระ
หมายถึง[ทุระ-] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
นพรัตน์
หมายถึง[นบพะ-] น. แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, นวรัตน์ หรือ เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
นววิธ
หมายถึง[-วิด] ว. ๙ ประการ, ๙ อย่าง. (ป.).
นิรุตติปฏิสัมภิทา
หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
แบตเตอรี่
หมายถึงน. หมู่ของเซลล์ไฟฟ้าซึ่งต่อกันอยู่อย่างอนุกรม หรืออย่างขนาน หรือทั้ง ๒ อย่าง. (อ. battery).
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
หมายถึง[ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
ประการ
หมายถึงน. อย่าง เช่น จะทำประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทำนอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
ปาฏิหาริย์
หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).