ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อดิ, อติ, กรุณาธิคุณ, อาเทศ, อณิ, อหิ, นราธิเบนทร์, อภินิหาร, อริ, อภิ
อธิ
หมายถึงคำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).
อธิก,อธิก-
หมายถึง[อะทิกะ-, อะทิกกะ-] ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ, ใช้ว่า อธึก ก็มี. (ป., ส.).
กรุณาธิคุณ
หมายถึงน. คุณอันยิ่งใหญ่ คือ กรุณา. (ป. กรุณา + อธิ + คุณ).
อาเทศ
หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
อธิษฐาน, อธิฏฐาน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
อธิฐาน, -ฐาณ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
อธึก
หมายถึงว. อธิก, ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ.
อธิมาตร
หมายถึง[อะทิมาด] ว. เหลือคณนา. (ส.; ป. อธิมตฺต).
อธิมุตติ
หมายถึง[อะทิมุดติ] น. อัชฌาสัย, ความพอใจ, ความตั้งใจ. (ป.; ส. อธิมุกฺติ).
อธิป,อธิป-
หมายถึง[อะทิบ, อะทิปะ-, อะทิบปะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).