ค้นเจอ 1,495 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ธชะ, อฆะ, อชา, อ๊ะ, แชะ, รชะ, วัช, วชะ, อปาจี

อชะ

หมายถึง[อะชะ] น. แพะ. (ป., ส.).

ชะ,ชะ,ชะชะ

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะช้า หรือ ชัดช้า ก็ว่า.

ชะ

หมายถึงก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะและอาการอย่างชะแผล; ชำระล้างด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

ธชะ

หมายถึง(แบบ) น. ธง. (ป.).

ดาลุชะ

หมายถึงน. ตาลุชะ. (ป., ส.).

พยชะ

หมายถึง[พะยดชะ] ก. ขับ, ขี่; พัด. (ส. วฺยช).

อจล,อจล-

หมายถึง[อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

ลาช,ลาชะ,ลาชา

หมายถึง[ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).

อาชญากรสงคราม

หมายถึง[อาดยากอน-, อาดชะยากอน-] น. ผู้ก่ออาชญากรรมในการทำสงคราม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ