ค้นเจอ 11 รายการ

หาว

หมายถึงน. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออกทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.

เหินหาว

หมายถึงก. บินหรือเหาะไปในอากาศในระยะสูง.

นภ,นภ-

หมายถึง[นะพะ-, นบพะ-] น. ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).

หวอด

หมายถึงน. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สำหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.

หาวนอน

หมายถึงก. หาวเพราะง่วงนอน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ง่วงเหงา เป็น ง่วงเหงาหาวนอน ก็มี.

ผย่ำเผยอ

หมายถึง[ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทำหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).

ว่าวเหลิง,ว่าวเหลิงลม

หมายถึง[-เหฺลิง] น. ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่. (สำ) ว. เพลินจนลืมตัว เช่น กลัวต้องลมแล้วจะหาวเหมือนว่าวเหลิง. (อภัย).

ทรหึงทรหวล

หมายถึง[ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).

ลมขึ้น

หมายถึงก. อาการที่ลมดันออกจากภายในร่างกาย ทำให้หาวเรอหรือให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน ในกรณีหลังนี้บางทีก็เรียกว่า ลมขึ้นเบื้องสูง.

ว่ายฟ้า

หมายถึง(วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).

เรือรูปสัตว์

หมายถึงน. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ