ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ผมจุก, จุก, หัวถอก, กัญจุก,กัญจุการา, เกศากันต์, หัวเข้า, หัวโจก, หัวซุน, หัวปาก, หัวหอก, หัวออก
หัวจุก
หมายถึงน. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ ผมจุก ก็เรียก.
จุก
หมายถึงน. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.
ผมจุก
หมายถึงน. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ หัวจุก ก็เรียก.
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้อุดปากขวด. ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น กินมากจนจุก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอุดปากขวดเป็นต้น เช่น เอาไม้ก๊อกจุกปากขวด, ค้างคาอยู่ที่ช่อง เช่น นั่งจุกประตู ลิ้นจุกปาก, ปิด ใช้ในความเช่น หางจุกตูด.
หมายถึงน. ส้มจุก. (ดู ส้ม ๑).
หมากจุก
หมายถึงน. เนื้อหมากดิบสดที่นำมาเจียนอย่างหมากเจียน แล้วจึงซอยตามยาวออกเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.
อุด
หมายถึงก. จุกช่อง, จุกให้แน่น.
หัว
หมายถึงน. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่า หัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่นออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
ลงหัว
หมายถึงก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
เปิดหัว
หมายถึงก. เปิดสมอง.
หมายถึงน. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
แต่หัววัน
หมายถึงว. ก่อนเวลากำหนด, ก่อนเวลาสมควร, เช่น งานเริ่มทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับบ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน.