ค้นเจอ 15 รายการ

หัวข้อ

หมายถึงน. ต้นเรื่อง, ส่วนสำคัญของเรื่องที่แยกออกเป็นส่วน ๆ และกำหนดไว้ตอนต้นเรื่อง, ใจความสำคัญ.

อรรถบท

หมายถึง[อัดถะบด] น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ.

อังคุตรนิกาย

หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.

ข้อ

หมายถึงน. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อนหนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะบางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.

ตันตระ

หมายถึง[-ตฺระ] (แบบ) น. ส่วนสำคัญ, หัวข้อ, คำสอน. (ส.).

กระทู้

หมายถึงน. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม.

วิภัชวาที

หมายถึงน. ผู้จำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.

วิภัชพยากรณ์

หมายถึงน. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.

แม่บท

หมายถึงน. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรำ, แม่ท่า ก็เรียก.

วิทยานิพนธ์

หมายถึงน. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.

ธรรมปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).

บรรณานุกรม

หมายถึง[บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ