ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หลง, หลง ๆ ลืม ๆ, รากเหง้า, เลอะ, เฟือน, ได้หน้าลืมหลัง, มูฬห,มูฬห-, เลอะเลือน, สติไม่ดี, กะป้ำกะเป๋อ, ขล้ง, หลัง
หลงจู๊
หมายถึงน. ผู้จัดการ. (จ.).
หลงลืม
หมายถึงก. มีความจำเลอะเลือน, มีความจำเสื่อมจึงทำให้ลืม, มีสติเฟือนไป.
หลง
หมายถึง[หฺลง] ก. สำคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออกไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทาง; เหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝนหลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
หลง ๆ ลืม ๆ
หมายถึงว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.
หลงกล
หมายถึงก. แพ้รู้ในกลอุบาย.
หลงตา,หลงหูหลงตา
หมายถึงว. ตกค้างอยู่โดยไม่เห็น, ปล่อยให้ผ่านสายตาไปโดยไม่ทันได้สังเกตเห็น.
หลงเหลือ
หมายถึงก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมีเศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.
หลงผิด
หมายถึงก. สำคัญผิด, เข้าใจไม่ถูกต้อง; หลงประพฤติไปในทางที่ผิด.
หลงใหลได้ปลื้ม
หมายถึง(สำ) ก. ตื่นเต้นยินดีเมื่อตนเองหรือผู้อื่นได้ดิบได้ดีเป็นต้น เช่น อย่ามัวหลงใหลได้ปลื้มกับรางวัลจนลืมหน้าที่การงานของตน.
หลงละเมอ
หมายถึงก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลงละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.
หลงลม,หลงลมปาก
หมายถึง(ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคนชวนไปหาลาภทางไกล.
หลงใหล
หมายถึงก. คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง; เลอะเลือน, มีสติเฟือน, เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน.