ค้นเจอ 7 รายการ

หนอก

หมายถึง[หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)].

หนอก

หมายถึง[หฺนอก] น. ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, ก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมาที่ต้นคอของคนบางคน เช่น เธออ้วนจนคอเป็นหนอก, เนื้อใต้ท้องน้อย เช่น นุ่งผ้าขัดหนอก.

อูฐ

หมายถึง[อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ; ส. อุษฺฏฺร).

หนอกช้าง

หมายถึง[หฺนอก-] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ผักชีล้อม. (ดู ชีล้อม).

ผักหนอก

หมายถึง[-หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)].

ตะโหงก

หมายถึง[-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.

เตี่ยว

หมายถึงน. ผ้าชิ้นน้อยยาวสำหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อนออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสำหรับซับระดูหรืออยู่กระดานไฟ; ใบตองหรือใบมะพร้าวสำหรับคาดกลัดห่อขนม เช่นห่อข้าวหมาก ห่อขนมตาล; (ถิ่น-พายัพ) กางเกง. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ