ค้นเจอ 9 รายการ

สารภาพ

หมายถึง[สาระพาบ] ก. รับว่ากระทำผิด เช่น จำเลยสารภาพว่าขโมยของไปจริง; บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก.

แก้บาป

หมายถึงก. สารภาพความผิดเพื่อให้พ้นบาป.

ลุกะโทษ,ลุแก่โทษ

หมายถึงก. สารภาพผิดยอมให้ลงโทษตามแต่จะเห็นสมควร.

สำนึกผิด

หมายถึงก. รู้สึกตระหนักในความผิดที่ได้ทำไป เช่น ผู้ร้ายสำนึกผิดจึงได้สารภาพ, บางทีก็ใช้ว่า สำนึก เช่น ทำผิดถูกลงโทษแล้วยังไม่สำนึกอีก.

หมดไส้หมดพุง

หมายถึงว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

หมดพุง,หมดไส้หมดพุง

หมายถึงว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

สิ้นไส้สิ้นพุง

หมายถึงว. อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น ผู้ร้ายสารภาพจนสิ้นไส้สิ้นพุง; หมดความรู้; ที่ออกมาจนหมดท้อง เช่น เขาเมารถ อาเจียนเสียสิ้นไส้สิ้นพุง, หมดไส้หมดพุง ก็ว่า.

เรา

หมายถึงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.

รับ

หมายถึงก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ