ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ชายา, ศิลปศาสตร์, สายตา, ฉัยยา, ฉายา, ทา, สาขา, มายา, ทยา, ศาลา, เศรษฐศาสตร์
สายา
หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น สายาอยู่ในถนน ถามข่าว รยมฤๅ. (กำสรวล).
ชายา
หมายถึง(แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
สา
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่องูหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สาเหลือง หมายถึง งูลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) สาขาว หมายถึง งูทับสมิงคลา (Bungarus candidus) สาคอแดง หมายถึง งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus).
หมายถึงน. หมา. (ป.; ส. ศฺวนฺ).
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระสา. (ดู กระสา ๓), ชื่อกระดาษที่ทำจากเปลือกต้นกระสา ใช้ทำร่มเป็นต้น เรียกว่า กระดาษสา.
หมายถึงสัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
สาฏิก,สาฏิก-
หมายถึง[สาติกะ-] น. เสื้อ, เสื้อคลุม; ผ้า. (ป.; ส. ศาฏิกา).
สาณ,สาณ-
หมายถึง[สานะ-] น. ผ้าหยาบ, ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณ).
สากะ
หมายถึงน. ผัก. (ป.; ส. ศาก).
ยา
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
ยามา
หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
สามะ
หมายถึงน. สีดำ, สีนิล. (ป.; ส. ศฺยาม).