ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา มล้าง, ม้าง, เริด, ว้า, ขาง, ทันติน,ทันตี, ธงราชินีใหญ่, นาคี, บัณเฑาะว์
ว้าง
หมายถึงว. เปล่า, ว่าง.
หูกว้างตากว้าง
หมายถึงว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูยาวตายาว ก็ว่า.
หูยาวตายาว
หมายถึงว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูกว้างตากว้าง ก็ว่า.
ตาโพลง
หมายถึงว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง.
ชะเวิกชะวาก
หมายถึงว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิกชะวาก.
ตาตี่
หมายถึงน. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทำให้เบิกตากว้างไม่ได้.
ตี่
หมายถึงน. เรียกตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทำให้เบิกตากว้างไม่ได้ ว่า ตาตี่.
แยงแย่
หมายถึงว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืนแบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่.
เห่า
หมายถึงน. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดำ นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและแผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.
ทวีป
หมายถึง[ทะวีบ] น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป; (โบ) เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป; ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่ามี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. (ส.; ป. ทีป).
หัวตะกั่ว
หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาขนาดเล็กหากินตามผิวนํ้าชนิด Aplocheilus panchax ในวงศ์ Cyprinodontidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโตและอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ ที่สำคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. (๒) ดู ข้างเงิน.