ค้นเจอ 719 รายการ

วินตกะ

หมายถึง[วินตะกะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).

นาคานตกะ

หมายถึงครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค

สัตบริภัณฑ์,สัตภัณฑ์,สัตภัณฑ์

หมายถึง[สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นมีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).

จินต

หมายถึง[จินตะ-] ก. คิด. (ป., ส.).

จินต-

หมายถึง[จินตะ-] ก. คิด. (ป., ส.).

สามนต,สามนต-,สามนต์

หมายถึง[สามนตะ-] ว. รอบ ๆ, ใกล้เคียง. (ป.).

ประณต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ประนต เป็นคำที่เขียนผิด ❌

จินตนิยม

หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).

วิ

หมายถึงคำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).

กะ

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

กะ

หมายถึงน. เครื่องหมายบอกทำนองสวด เช่น กะมหาชาติคำหลวง, ทำนองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.

กะ

หมายถึงน. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือ เป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อน เรียกว่า กะห่วง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ