ค้นเจอ 5 รายการ

วาจก

หมายถึงน. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นผู้ทำ ผู้ใช้ ผู้ถูกทำ หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจก และการิตวาจก. (ป., ส.).

กรรตุวาจก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

อาขยาต

หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

ภาษามีวิภัตติปัจจัย

หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ