ตัวกรองผลการค้นหา
วรรณพฤติ
หมายถึง[วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
จิตรปทา
หมายถึงน. ชื่อฉันท์ในวรรณพฤติ. (ป., ส.).
ฉันทศาสตร์
หมายถึง[ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติและวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
ชเนตตี
หมายถึง[ชะเนดตี] น. แม่ เช่น ชเนตตีสมะนามกร. (ฉันท์วรรณพฤติ). (ป.; ส. ชนยิตฺรี).
โตฎก
หมายถึง[-ดก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติมี ๑๒ พยางค์, ประกอบด้วย ส คณะล้วน. (ป. โตฏก).
ทุตวิลัมพิตมาลา
หมายถึง[ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
โทธก
หมายถึง[-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตำรากลอน).
กมล-
หมายถึง[กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
กมลา
หมายถึง[กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
กมล
หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
กุสุมวิจิตร
หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
ธาตุมมิสสา
หมายถึง[ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).