ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อก, ลูกทอย, ทอย, สุต, ลูกกลอน, ลูกคอก, ลูกคำ, ลูกดอก, ลูกยอด, ลูกแอก, ออกไท้
ลูกลอย
หมายถึงน. อุปกรณ์ภายในถังน้ำของส้วมชักโครกเป็นต้น มีหน้าที่รักษาระดับน้ำในถังน้ำให้คงที่; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับเครื่องยนต์ อยู่ในคาร์บูเรเตอร์ ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องลูกลอยให้คงที่.
ลอย
หมายถึงก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็นพ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บนผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้มหรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
ลูกบัลลูน
หมายถึงน. ลูกกลมขนาดใหญ่บรรจุแก๊สที่เบากว่าอากาศทำให้ลอยได้ ใช้ประโยชน์ในกิจการบางอย่าง เช่น ตรวจลมชั้นบน, ลูกบอลลูน บัลลูน หรือ บอลลูน ก็ว่า.
ลอยเป็นแพ
หมายถึงก. ลอยพรืดไปเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น ผักตบชวาลอยเป็นแพ.
เข่าลอย
หมายถึงน. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้วใช้เข่ากระแทกคู่ต่อสู้.
สติลอย
หมายถึงว. เหม่อ, เผลอสติ, เช่น เขาเดินสติลอยเลยถูกรถชน.
ลอย ๆ
หมายถึงว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
ลอยน้ำ
หมายถึงก. หล่อน้ำ, เอาภาชนะใส่ของไปตั้งไว้ในน้ำไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาขนมใส่ถ้วยไปลอยน้ำไว้; เอาดอกไม้หอมลอยลงในน้ำเพื่ออบน้ำให้หอม เช่น เอาดอกมะลิลอยน้ำ.
ลาภลอย
หมายถึงน. สิ่งที่ได้มาโดยไม่คาดคิด.
มะลิลอย
หมายถึงดูใน กินสี่ถ้วย.
เท้งเต้ง
หมายถึงว. อาการที่ลอยไปลอยมาตามเรื่องตามราว เช่น เรือลอยเท้งเต้ง.
ลูก
หมายถึงน. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน; เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา; เรียกสิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคำพยางค์เดียวอันอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคำ ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด; เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน; ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง ๕ ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.