ค้นเจอ 18 รายการ

ลีลา

หมายถึงน. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).

ลินลา,ลิ้นลา

หมายถึงก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).

ท่วงทำนอง

หมายถึงน. ลีลาที่เป็นไปตามจังหวะหรือทำนอง.

หงสลีลา,หงส์ลีลา,หงส์ลีลา

หมายถึง[หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.

กรีด

หมายถึง[กฺรีด] ก. มีท่วงท่าที่มีลีลางดงามอย่างละครรำ.

เยื้องย่าง

หมายถึงก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า.

ย่างเยื้อง

หมายถึงก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.

ทำนองเสนาะ

หมายถึงน. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.

กะติงกะแตง

หมายถึงก. กุลีกุจอ เช่น พระชาลีก็ลีลาแล่นไปก่อน กะติงกะแตงต้อนรับ. (ม. กาพย์ กุมาร), กะตึงกะแตง ก็ใช้.

หงส์ลีลา

หมายถึง[หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).

ตัวนาง

หมายถึงน. ผู้แสดงละครรำหรือระบำ เข้าเครื่องละครรำ ใช้ลีลาท่ารำแบบหญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร.

ตัวพระ

หมายถึงน. ผู้แสดงละครรำหรือระบำ เข้าเครื่องละครรำ ใช้ลีลาท่ารำแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ